บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันพุธ 13 กันยายน พ.ศ.2560
การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน | ||
เนื้อหา/กิจกรรม
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น เป็นกระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน รู้สึกผ่อนคลาย และยังทำให้เด็กนั้นได้ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้ออีกด้วย
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play) คือการสำรวจ จับต้องวัตถุ และยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) อายุ 1 ปี 6 เดือน - 2 ปี เป็นการเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด เด็กจะคำนึงถึงความพอใจมากกว่าความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) 2 ปีขึ้นไป จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. การเล่นกลางแจ้ง
2. การเล่นในร่ม ---------> การเล่นตามมุมประสบการณ์ การเล่นสรรค์สร้าง
ซึ่งการเล่นอย่างสร้างสรรค์นี้ คือ การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
1. สภาวะการเรียนรู้ คือ การจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
- การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
- การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
- การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
- จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
- กระบวนการเรียนรู้
- กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
โดยกระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ต้องเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง มีการจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
1. ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
2. ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
3. มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
4. มีการสรุปท้ายกิจกรรม
กิจกรรม Marshmallow Tower
กิจกรรม เรือน้อยบรรทุกของ
กิจกรรม แฟชั่นจากหนังสือพิมพ์
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำกิจกรรมหรือความรู้ที่ได้รับในวันนี้ นำไปจัดกิจกรรม พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ต่อผลงานและสิ่งที่ดีงามในชีวิต
การประเมิน
ตนเอง : วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนจึงอ้างอิงมาจาก
พิชญ์สินี รักษ์เมือง
เพื่อน : -
อาจารย์ : -
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น