Learning Log 4



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธ 20 กันยายน พ.ศ.2560

      การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
      Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood


              ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน  

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตัวการ์ตูนดุ๊กดิ๊ก


เนื้อหา/กิจกรรม            

การเคลื่อนไหวและจังหวะกับความคิดสร้างสรรค์

          กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้
ประเภทของการเคลื่อนไหว

           การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ (Non locomotor Movement) เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายเมื่ออยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งและไม่เคลื่อน ไหวออกจากจุดนั้นเลย ได้แก่ การก้มตัว การเหยียดตัว การบิดตัว การหมุนตัว การโยกตัว การแกว่ง หรือการหมุนเหวี่ยง การเอียง การดัน การดึง การสั่น การตี
           การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (Locomotor Movement) เป็นการเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การก้าวกระโดด การกระโดดเขย่ง การวิ่งเขย่ง การวิ่งสลับเท้า การลื่นไถล การควบม้า การก้าวชิด 

          การเคลื่อนไหวพร้อมกับอุปกรณ์หรือวัตถุ (Movement with Equipment & Material) การเคลื่อนไหวพร้อมกับอุปกรณ์หรือวัตถุ  การใช้อุปกรณ์ประกอบนี้ช่วยทำให้เด็กได้มีการพัฒนาในด้านการทำงานประสานกันระหว่างประสาทมือกับประสาทตา ประสาทเท้ากับตา และประสาทมือ เท้า และตาให้ดีขึ้น 

ความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหว

               การพัฒนาทางด้านร่างกายและสุขภาพพลานามัยของเด็ก เด็กมีโอกาสทำท่าทางประกอบและเคลื่อนไหวไปตามเนื้อเพลง เช่น เพลงแปรงฟัน เพลงอาบน้ำ เพลงดื่มนม ฯลฯ 

               การพัฒนาทางด้านอารมณ์ ขณะที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบเพลง เด็กจะมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มีความสนุกสนาน คลายความตึงเครียด อีกทั้งยังช่วยให้เด็กมีความกล้าแสดงออกและมั่นใจในตนเอง 

               การพัฒนาทางด้านสังคม เพลงเป็นสื่ออย่างหนึ่งที่สามารถชักจูงให้เด็กๆและครูมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพลงบางเพลงเด็กต้องทำท่าทางร่วมกัน ทำให้เด็กมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น 

              การพัฒนาทางด้านสติปัญญา เนื้อหาในเพลงที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ช่วยให้เด็กพัฒนาความ สามารถในด้านต่างๆ


กิจกรรม      วันนี้อาจารย์ได้สอนขั้นนำของกิจกรรมเคลื่อนไหว และให้ทุกคนออกมาสอนขั้นนำ 
แบบที่1    ครูต้องตกลงสัญญาณกับเด็กดังนี้
               - ครูเคาะสัญญาณช้าให้เด็กเคลื่อนไหวช้าๆ
               - ครูเคาะจังหวะเร็วให้เด็กเคลื่อนไหวเร็วๆ
               - ถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง ติดกันให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที
ครูและเด็กทบทวนสัญญารอีกครั้ง

แบบที่2   ครูต้องตกลงสัญญาณกับเด็กดังนี้
               - ครูเคาะสัญญาณ 1 ครั้ง ให้เด็กเคลื่อนไหว1ครั้ง
               -ครูเคาะสัญญาณ 2 ครั้ง ให้เด็กเคลื่อนไหว2ครั้ง
               - ครูเคาะจังหวะรัวเร็วๆให้เด็กเคลื่อนไหวอย่างเร็วๆตามจังหวะ
               - ถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง ติดกันให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหวในท่านั้นทันที
ครูและเด็กทบทวนสัญญารอีกครั้ง








การนำความรู้ไปใช้

         กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นหนึ่งในหกกิจกรรมหลักของการจัดการศึกษาปฐมวัย และเพื่อตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก เพื่อจะได้ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

การประเมินผล
              ตนเอง: ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและเข้าใจในเรื่องการเคาะจังหวะ
              เพื่อน: ทุกคนฝึกการเคาะจังหวะและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม
              อาจารย์: คอยชี้แนะและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเคาะจังหวะได้อย่างเข้าใจ 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น