Learning Log 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  2
วันจันทร์ 6 กันยายน พ.ศ.2560

    การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood

                                                  ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน          

                                                  รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาความรู้/กิจกรรม

     การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์

- Jellen and Urban 
ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
- De Bono 
ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
- อุษณีย์  โพธิสุข 
กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด 
คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
-คุณค่าต่อสังคม
-คุณค่าต่อตนเอง
-ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
-ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
-สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี
-เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
 1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
              ด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
              ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Association Fluency)
              ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
              ด้านการคิด (Ideation Fluency)
2. ความคิดริเริ่ม (Originality)
              ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา หรือแตกต่างจากบุคคลอื่น
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
              ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
              ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapture Flexibility)
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
             ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
              แรกเกิด-2ปี มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
              2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการ ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
              4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก

ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
               ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
               ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
               ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
               ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
-ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
-อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
-ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
-ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
-ช่วยให้ปรับตัวได้ดี

"ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้"

แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford
อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
⧪มิติที่ 1 เนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด) ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม
⧪มิติที่ 2 วิธีคิด(กระบวนการทำงานของสมอง)การรู้และเข้าใจ การจำ  การคิดแบบอเนกนัย การคิดแบบ
⧪มิติที่ 3 ผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)หน่วย  จำพวก  ความสัมพันธ์
ทฤษฎี Constructivism
             เด็กเรียนรู้เอง  เด็กคิดเอง  ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
             เด็กรู้สึกปลอดภัย  ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว  ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง  
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
-มีไหวพริบ
-กล้าแสดงออก
-อยากรู้อยากเห็น
-ช่างสังเกต
-มีอารมณ์ขัน
-มีสมาธิ
-รักอิสระ

กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Producing Something and Using It)
ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก (Using Pupil Question)
แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance
-ส่งเสริมให้เด็กถาม
-เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
-ยอมรับคำถามของเด็ก
-ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
-แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
การตั้งคำถาม 5W1H
Who ใคร 
What อะไร
Where ที่ไหน 
When เมื่อไหร่ 
Why ทำไม 
How อย่างไร


ทำกิจกรรมการพับเครื่องบินกระดาษ โดยเครื่องบินกระดาษของใครสามารถล่อนลงกล่องได้ก่อนก็จะได้รับราลวัล เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์




ต่อมาเป็นการลากเส้นตามเสียงเพลง โดยจับคู่กับเพื่อน2คน จากนั้นให้ใช้สีลากเส้นตามเพลงที่อาจารย์เปิด จากนั้นให้ดูว่ารูปทรงนั้นจะระบายสีเป็นรูปอะไรได้บ้าง แล้วมาเล่าให้เพื่อนและอาจารย์ฟังว่าของตนเองเหมือนอะไรบ้าง







การประยุกต์ใช้

           เราสามารถนำหลักการเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย มาจัดการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ ใช้หลัก 5W1H มาถามคำถามกระตุ้นความคิดเด็ก


ประเมิน

               ตนเอง: วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนจึงอ้างอิงมาจาก นางสาว พิชญ์สินี รักษ์เมือง **
               เพื่อน:   -
               อาจารย์ :   -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น